ขนาดตัวอักษร เล็ก ปกติ ใหญ่

ความรู้สหกรณ์

ความหมายของสหกรณ์

21 13 51 872 512สหกรณ์ 21 13 51 872 512
คือ "องค์กรๆ หนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันด้วยความสมัครใจ เพื่อดำเนินงานทั้งในด้านความคิด
ระบบบริหารจัดการผลผลิตและบุคคลโดยใช้หลักประชาธิปไตยเพื่อสนองความต้องการ (อันจำเป็น)
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม"

บทนิยามของคำ "สหกรณ์" (แก้ไขใหม่)
สหกรณ์ น.องค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยการลงหุ้นร่วมกัน จัดการร่วมกัน
ในการผลิต การจำหน่ายสินค้าหรือบริการตามความต้องการหรือผลประโยชน์อย่างเดียวกันของบรรดา
สมาชิก สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิ์ออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการบริหารสหกรณ์ โดยไม่ขึ้นกับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่
เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์โคนม, (กฎ) คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อ
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตาม
กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์.

หมายเหตุ จากหนังสือราชบัณฑิตยสถาน ที่ รถ ๐๐๐๔/๘๐๐ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๐


                                                   202

  • ฮิต: 715

ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย

09 12 28 666 51209 12 28 666 512การสหกรณ์ในประเทศไทย มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจาก เมื่อประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อค้าขาย
กับต่างประเทศ มากขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจของชนบทก็ค่อยๆเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจ
แบบเพื่อเลี้ยง ตัวเองมาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้าความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิตและ
การครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเองก็หันไปกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นทำให้ต้องเสียดอกเบี้ย
ในอัตราสูง และยังถูกเอาเปรียบจากพ่อค้านายทุนทุกวิถีทางอีกด้วย ชาวนาจึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ตลอด
เวลาทำนาได้ข้าวเท่าใดก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมดนอกจากนี้การทำนายังคงมีผลผลิตที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับ
สภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปีไหนผลผลิตเสียหายก็จะทำให้หนี้สินพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนลูกหนี้บางรายต้อง
โอนกรรมสิทธิ์ในที่นาให้แก่เจ้าหนี้ และกลายเป็นผู้เช่านาหรือเร่ร่อนไม่มีที่ดินทำกินไปในที่สุด

จากสภาพปัญหาความยากจนของชาวนาในสมัยนั้น ทำให้ทางราชการคิดหาวิธีช่วยเหลือ ด้วยการจัดหาเงินทุน
มาให้กู้และคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำความคิดนี้ได้เริ่มขึ้นในปลายรัชการที่ 5โดยกำหนดวิธีการที่จะช่วยชาวนาใน
ด้านเงินทุนไว้ 2 วิธี คือ
    วิธีที่ 1 จัดตั้งธนาคารเกษตรเพื่อให้เงินกู้แก่ชาวนา แต่ขัดข้องในเรื่องเงินทุนและหลักประกันเงินกู้ ความคิดนี้
จึงระงับไป
    วิธีที่ 2 วิธีการสหกรณ์ประเภทหาทุน วิธีนี้เกิดจากรัฐบาลโดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในปัจจุบันคือ
กระทรวงการคลังได้เชิญเซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราชประเทศอินเดียเข้ามาสำรวจหาลู่ทาง
 ช่วยเหลือชาวนาได้เสนอว่าควรจัดตั้ง "ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ" ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและ
หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพื่อป้องกันมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินทอดทิ้งที่นาหลบหนี้สิน ส่วนการควบคุมเงินกู้
และการเรียกเก็บเงินกู้ ท่านได้แนะนำให้จัดตั้งเป็นสมาคมที่เรียกว่า "โคออเปอราทีฟ โซไซ"(Cooperative Society)
 โดยมีหลักการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งคำนี้พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณได้ทรงบัญญัติ
ศัพท์เป็นภาษาไทยว่า "สมาคมสหกรณ์" จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2457
 แต่ก็ยังมิได้ดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการเปลี่ยนกรมสถิติพยากรณ์เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
ประกอบด้วยส่วนราชการ 3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์และการสหกรณ์


การจัดตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นและพระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ 
ในฐานะทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ขณะนั้นได้ทรงพิจารณาเลือกแบบอย่าง
สหกรณ์เครดิตที่จัดกันอยู่ในต่างประเทศหลายแบบ ในที่สุดก็ทรงเลือกแบบไรฟ์ไฟเซนและทรงยืนยันไว้ใน รายงาน
สหกรณ์ฉบับแรกว่า "เมื่อได้พิจารณาละเอียดแล้วได้ตกลงเลือกสหกรณ์ชนิดที่เรียกว่าไรฟ์ไฟเซน ซึ่งเกิดขึ้นในเยอรมันก่อน
และซึ่งมุ่งหมายที่จะอุปถัมภ์คนจน ผู้ประกอบกสิกรรมย่อมๆ เห็นว่า เป็นสหกรณ์ชนิดที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับประเทศไทย
" จากการที่พระองค์ท่านทรงเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มงานสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย บุคคลทั้งหลายในขบวนการสหกรณ์จึงถือว่า
พระองค์ทรงเป็น "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย" สำหรับรูปแบบของไรฟ์ไฟเซนก็คือ สหกรณ์เพื่อการกู้ยืมเงินที่มีขนาดเล็ก
สมาชิกจะได้มีความรับผิดชอบร่วมกันทำให้สะดวกแก่การควบคุมท้องที่ที่ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งสหกรณ์ คือ จังหวัดพิษณุโลก
เนื่องจากเป็นจังหวัด ที่มีผู้คนไม่หนาแน่นและเป็นราษฎรที่เพิ่งอพยพมาจากทางใต้ จึงต้องการช่วยเหลือผู้อพยพซึ่งประกอบ
อาชีพการเกษตร ให้ตั้งตัวได้ รวมทั้งเพื่อเป็นการชักจูงราษฎรในจังหวัดอื่นทีมีผู้คนหนาแน่นให้อพยพมาในจังหวัดนี้ และเข้า
ทำประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่ ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ จึงได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลกเป็นแห่งแรกใช้ชื่อว่า "สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459
มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรกนับเป็นการเริ่มต้นแห่งการสหกรณ์ใน
ประเทศไทยอย่างสมบูรณ์

ในระยะแรกตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้มีสมาชิกจำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท ซึ่งเป็นเงิน จากค่าธรรมเนียมแรกเข้า
80 บาท และเงินทุนจำนวน3,000 บาท ได้อาศัยเงินกู้จาก แบงค์สยามกัมมาจล จำกัด ซึ่งก็คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน โดยมี
กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำประกัน และเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากสมาชิกในอัตราร้อยละ
12 ต่อปี กำหนดให้สมาชิกส่งคืนเงินต้น ในปีแรกจำนวน1,300 บาท แต่เมื่อครบกำหนดสมาชิก ส่งคืนเงินต้นได้ถึง 1,500 บาท ทั้งส่ง
ดอกเบี้ยได้ครบทุกราย แสดงให้เห็นว่าการนำวิธีการสหกรณ์เข้ามาช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของชาวนาได้ผล และจากความสำเร็จ
ของสหกรณ์วัดจันทร์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้คิดขยายกิจการสหกรณ์ไปยังจังหวัดอื่นๆแต่การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกนั้น นอกจาก
จะมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนแล้วยังมีข้อจำกัด ในทางกฎหมายด้วยเพราะพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 ทำให้การจัดตั้ง
สหกรณ์ไม่กว้างขวางพอที่จะขยายสหกรณ์ออกไป หากจะให้การจัดตั้งสหกรณ์ เจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงจะต้องออกกฎหมาย
ควบคุมให้มีขอบเขตกว้าง ดังนั้นในเวลาต่อมาทางราชการจึงได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 แล้วประกาศใช้
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471นับเป็นกฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เปิดโอกาสให้มีการรับจดทะเบียนสหกรณ์ 
ประเภทอื่นๆจากนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471อีก 3 ครั้ง นับว่าการประกาศให้พระราชบัญญัติสหกรณ์
พ.ศ. 2471ช่วยให้การจัดตั้งสหกรณ์ได้ขยายออกไปอีกมาก

ปี พ.ศ. 2478 มีการริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์เช่าซื้อที่ดินที่จังหวัดปทุมธานีและได้จัดตั้งสหกรณ์ประเภทใหม่ๆ ขึ้นอีกหลายประเภท เช่น
สหกรณ์บำรุงที่ดินสหกรณ์ค้าขายสหกรณ์นิคมฝ้าย สหกรณ์หาทุนและบำรุงที่ดิน ในปี พ.ศ. 2480ร้านสหกรณ์ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรก
ที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อว่า ร้านสหกรณ์บ้านเกาะ จำกัด สินใช้ มีสมาชิกแรกตั้ง279 คน และได้มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์
ในลักษณะนี้อีกหลายแห่งเพื่อช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ โดยจัดตั้งขึ้น ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และส่วนของประชาชน

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย ก็คือการควบสหกรณ์หาทุนเข้าด้วยกัน โดยทางราชการได้ออก
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่
สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุนจึงแปรสภาพ
เป็นสหกรณ์การเกษตรมาจนปัจจุบัน และในปี 2511 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นสถาบันสำหรับให้การศึกษา
แก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ มีหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ ร่วมมือกัน 
ระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ ที่มิใช่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจโดยมีสหกรณ์ทุกประเภทป็นสมาชิก ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดประเภทสหกรณ์ไว้
6 ประเภท ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2516 ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ออมทรัพย์
สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์บริการซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ
ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์จำนวนสมาชิก ปริมาณเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบัน
มีสหกรณ์ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 ประมาณ 7,964 สหกรณ์และสมาชิก 10,827,490 คน การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อ
เศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะ ต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ
และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น   
                                                                                              09 12 28 666 51209 12 28 666 51209 12 28 666 512

  • ฮิต: 1317

ประวัติการสหกรณ์

13 15 49 261 51213 15 49 261 512ระหว่างศตวรรษที่ 18-19ได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรปมีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน
ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ คือ เกิดภาวะการว่างงานและเศรษฐกิจตกต่ำทั่วไปการเปลี่ยนแปลง อย่างใหญ่หลวง
ครั้งนี้เริ่มต้นจากประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษต้องประสบกับปัญหาความเดือดร้อนอย่างมากมาย จากการที่นายทุนใช้เครื่องจักร
แทนแรงงาน มีการปลดคนงานออกจากโรงงาน ส่วนผู้ประกอบ การรายย่อย ต้องเลิกล้มกิจการไป สภาพสังคมทั่วไปมีการแบ่งชนชั้น
ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายนายทุนและทางฝ่ายกรรมการ นายทุนพยายามแสวง หากำไรจากการลงทุนมากที่สุด โดยการเอารัดเอาเปรียบ
ฝ่ายกรรมกรทุกวิถีทาง

จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ บรรดากรรมกรที่ถูกบีบคั้นทั้งหลายจึงเริ่มแสวงหาหนทาง ที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ยาก
ของพวกตนประกอบกับเวลานั้น  มีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความคิด อยากจะช่วยพยุงฐานะของสังคมให้ดีขึ้น ได้เสนอแนวทางปรับปรุง
สภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม โดยการร่วมมือระหว่างผู้ที่เดือดร้อนให้รู้จักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
แนวความคิดดังกล่าวได้ก่อให้เกิดระบบสหกรณ์ขึ้นในเวลาต่อมา

บุคคลแรกที่สอนให้คนทั่วไปรู้จักคำว่า "สหกรณ์" คือโรเบอร์ต โอเวน ชาวอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิด การสหกรณ์ขึ้นในโลกและ
ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการสหกรณ์ เดิมโอเวนเป็นคนที่ยากจน แต่ความเฉลียวฉลาดและรู้จักวิธีการทำมาหากินจึงทำให้เขาได้มีโอกาส
เป็นผู้จัดการและมีหุ้นส่วนเป็นเจ้าของโรงงาน เขาเป็นนายจ้าง ที่มีความหวังดีต่อกรรมกร จึงได้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ทั่วไปของ
คนงานให้ดีขึ้น หลังจากนั้นโอเวนได้หาวิธีช่วยเหลือกรรมกรอื่นๆ โดยสอนให้รู้จักการช่วยตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อ
ขจัดปัญหา ความเดือดร้อนต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการของระบบสหกรณ์ โอเวนเสนอให้จัดตั้ง "ชมรมสหกรณ์" (Co-operative Community)ให้
ชมรมสหกรณ์นี้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆใช้เองโดยไม่ใช้เครื่องจักรทรัพย์สินของชมรม เป็นของส่วนรวม เพื่อมิให้สภาพนายทุนปะปน
อยู่ในชมรม การจัดตั้งชมรมสหกรณ์นี้ จะต้องใช้เงินทุน และที่ดินเป็นจำนวนมากและโอเวนก็ได้พยายามเผยแพร่แผนการจัดตั้งชมรมสหกรณ์
เพื่อให้คนทั่วไป ได้เข้าใจสหกรณ์ในฐานะสมาคมเพื่อเศรษฐกิจ แต่โอเวนยังไม่สามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ในประเทศอังกฤษได้ เพราะ
มีปัญหาเกี่ยวกับสภาพสังคมในสมัยนั้น โอเวนจึงได้เดินทางไปประเทศอเมริกา และทดลองจัดตั้งชมรมสหกรณ์ ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ นิวฮาโมนี
รัฐอินเดียนา สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2368 ให้ชื่อว่า นิวฮาโมนี (New armony) แต่ได้ล้มเลิกไปในระยะเวลาต่อมา เนื่องจากไม่ได้คัดเลือก
สมาชิกและไม่มีกิจกรรมเพียงพอให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการปกครองและศาสนา อย่างไรก็ตามแนวความคิด
ของโอเวนก็มีอิทธิพลต่อนักปฏิรูปทางเศรษฐกิจ เขาได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับความร่วมมือร่วมใจระหว่างมนุษย์ ในอันที่จะช่วยตนเองและ
ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันเพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น

อีกท่านหนึ่งคือนายแพทย์วิลเลี่ยม คิง อาศัยอยู่ในเมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้นิยมให้ความคิด ทางสหกรณ์ของโอเวน แต่เห็นว่า
โครงการของโอเวนต้องใช้เงินทุนจำนวนมากซึ่งจะทำให้เป็นจริงได้ยากนายแพทย์คิงจึงเริ่มต้นจากการชี้แจงให้คนงานรวมทุนกันคนละเล็ก
ละน้อยตั้ง "สมาคมการค้า" (Trading Assiciation) ในรูปสหกรณ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2370 เป็นรูปร้านสหกรณ์จำหน่ายสินค้า แต่มีข้อแตกต่างไป
จากร้านสหกรณ์ในปัจจุบันคือ กำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของร้าน สหกรณ์นี้จะไม่นำมาแบ่งปันกัน แต่จะเก็บสมทบไว้เป็นทุนเพื่อใช้
ขยายงานของร้านสหกรณ์ต่อไป จนสามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ตามแบบโอเวนได้ ซึ่งจากการกระทำดังกล่าวทำให้ร้านค้าแบบสหกรณ์ใน
รูปแบบนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการเก็บกำไรทั้งหมดไว้ไม่จ่ายคืนแก่สมาชิก ทำให้สมาชิกไม่ศรัทธาสหกรณ์ อย่างไรก็ตามกิจการ
ของนายแพทย์คิง ก็คล้ายกับร้านสหกรณ์ในปัจจุบัน ฉะนั้นในวงการร้านสหกรณ์สมัยนี้จึงให้เกียรติแก่ท่านมาก

ต่อมาเมื่อมีสมาชิกเพิ่มและธุรกิจการค้าขยายใหญ่ขึ้นก็ได้มีการทำธุรกิจกับบุคคลภายนอกด้วย นักสหกรณ์รอชเดล หรือที่เรียกกันว่า
"ผู้นำแห่งรอชเดล" ได้กำหนดหลักปฎิบัติไว้ 10 ประการ ซึ่งมีสาระสำคัญหลายประการที่ถูกยึดถือ เป็นหลักสหกรณ์สากลมาจนถึง
ปัจจุบันแม้เวลาจะล่วงเลยมาเป็นเวลานาน แต่ร้านสหกรณ์รอชเดลก็ยังคงอยู่และกลายเป็นร้านที่มีขนาดใหญ่ ยิ่งกว่านั้น วิธีการของ
ร้านสหกรณ์สำหรับผู้บริโภคแบบนี้ ได้เผยแพร่หลาย ออกไปสู่ ประชาชนกลุ่มอื่นๆปัจจุบันร้านสหกรณ์ที่ถือหลักการสำคัญๆ อย่างเดียวกันนี้
มีอยู่ในประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก

ส่วนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ เช่น สหกรณ์ที่ช่วยเหลือสมาชิกให้กู้ยืมเงินไปทำทุน หรือสหกรณ์เครดิต หรือสหกรณ์สินเชื่อก็เช่นเดียวกัน
สหกรณ์เหล่านี้เกิดจากความขัดสน และความเดือดร้อนของเกษตรกรและกรรมกร เนื่องจากหาเงินกู้ยืมมาประกอบการทำมาหากินได้ยาก
และแม้ว่าจะกู้มาได้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพง จนไม่สามารถหารายได้มาให้เพียงพอกับการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้ เป็นเหตุให้มีหนี้สินมาก
เมื่อปี พ.ศ. 2393 นายเฮอร์มัน ชูลซ์ ชาวเยอรมัน ผู้พิพากษาแห่ง เมืองเดลิตซ์ ได้คิดจัดตั้งสหกรณ์ ประเภทหาทุนขึ้นในหมู่ชาวเมือง ผู้เป็น
ช่างฝีมือและพ่อค้าขนาดเล็ก โดยรวบรวมขึ้นเป็นองค์การเพื่อจัดหาทุนให้สมาชิกกู้ยืม และในปี พ.ศ. 2405 นายฟริดริค วิลเฮล์มไรฟไฟเซน
ชาวเยอรมัน นายกเทศมนตรี เมืองเฮดเอสดอร์ฟ ได้จัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้นในหมู่ชาวชนบท ซึ่งเป็นเกษตรกรโดยจัดเป็นองค์การ เพื่อจัดหาทุน
ให้แก่สมาชิกกู้ยืมเช่นเดียวกัน ในเวลาต่อมาการรวมกันเป็นสหกรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชนก็ได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ
อันเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างในการจัดตั้งสหกรณ์แก่ชาวบ้าน และชาวเมืองมาจนถึงปัจจุบัน
 

                                                                                      13 15 49 261 51213 15 49 261 51213 15 49 261 512

  • ฮิต: 56

ประวัติพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย

  R 1R 1R 1 R 1                

 kn01

พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรฯ บวรวิไชยชาญและจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก)
(กรมพระราชวังบรวฯ วิชัยชาญ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระราชอนุชาธิราช
แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4)

ทรงประสูติในพระบวรราชวัง เมื่อวันแรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด จุลศักราช 1238 ตรงกับวันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2419
มีพระนามว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (ตันสกุล "รัชนี") ทรงมีเจ้าพี่ร่วมจอมมารดาเดียวกันพระองค์หนึ่ง พระนามว่า
พระองค์เจ้าหญิงภัททาวดีศรีราชธิดา พระชันษาแก่กว่าท่าน 5 ปี แต่สิ้นพระชนม์เสียเมื่อพระชันษา 28 ปี

เมื่อ พ.ศ. 2429 ได้เสด็จเข้าเป็นนักเรียนประจำ ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเสด็จกลับวังเฉพาะวันพระทรงเรียน
อยู่เพียงปีเศษจกการันต์ คือ จบสูงสุดในประโยค 1 และในระหว่างนั้นทรงเรียนภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย ทรงเรียนจบ
ประโยค 2 เมื่อ พ.ศ. 2434 ทรงสอบไล่ได้เป็นที่ 1 ได้รับพระราชทานหีบหนังสือเป็นรางวัล จากนั้นได้เรียนภาษาอังกฤษ
ต่อไปจนจบหลักสูตรการเรียนของโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อทรงสำเร็จวิชาการโรงเรียนสวนกุหลาบแล้วพระชันษายังน้อย
เกินกว่าที่จะรับราชการ จึงเสร็จเข้าเรียนภาษาอังกฤษต่อที่สำนักอื่นแห่งหนึ่ง จน พ.ศ. 2436 จึงได้เสด็จเข้ารับราชการ
ในตำแหน่ง นายเวรกระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษา 16 ปี 3 เดือน ทรงเลื่อนขึ้นเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน
พ.ศ. 2438 ทั้งได้ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทยและทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติ
พิจารณาความแพ่งอีกหน้าที่หนึ่ง

ขณะที่ทรงรับราชการอยู่ในกระทรวงธรรมการ 2 ปี เศษนั้น ทรงสนพระทัยที่จะแสวงหาความรู้ทางภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
อยู่มิได้ขาด โดยทรงกระทำพระองค์สนิทชิดชอบกับที่ปรึกษากระทรวง และข้าราชการอื่นๆ ที่เป็นชาวอังกฤษ ทั้งใน
เวลาราชการและนอกเวลาราชการ อาทิ การไปเล่นกอล์ฟหรือฮ๊อคกี้ตามท้องสนามหลวง เสด็จไปเล่นเทนนิสตามบ้านฝรั่ง
หรือตามคลับ เป็นสมาชิกในคลับเรือใบซึ่งตั้งอยู่ถึงแถบชายทะเลจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งความพยายามเหล่านี้ล้วนเป็น
เครื่องเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ดังนั้น พระองค์จึงทรงคุ้นกับขนบธรรมเนียมและตรัสภาษาอังกฤษได้อย่าง
คล่องแคล่ว

ด้วยเหตุนี้ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระองค์เจ้ารัชนี มรเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2439 ในที่สุดพระองค์ท่านก็กลายเป็นผู้ถูกอัธยาศัยอย่างมากกับที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ จนที่ปรึกษาถึงกับทูลปรารภต่อเสนาบดีว่า "ควรส่งคนหนุ่มอย่างพระองค์ท่านไปศึกษาที่ประเทศอังกฤศ
เสียพักหนึ่ง ก็จะได้คนดีที่สามารถใช้ราชการในวันข้างหน้า" ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2440 จึงทรงย้ายมารับตำแหน่งเป็น
ล่ามที่กระทรวงพระคลังและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรป เมื่อวันที่ 7 เมษายนปีนั้น
และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทรงเล่าเรียนต่อในประเทศอังกฤษ

ผู้ดูแลนักเรียนหลวงจัดให้ท่านไปเรียนอยู่กับแฟมิลี่ คือครูของท่านซึ่งเป็นพระสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ทรงเรียนอยู่กับแฟมิลี่ได้เพียง 6 เดือน ก็ทรงสอบคอเลชออฟพรีเซ็บเตอร์ ภาค 1 ได้ และด้วยความวิริยะอุตสาหะและ
ตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ ทำให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ ระหว่างศึกษาทรงหาความรู้ใส่พระองค์ อย่างที่
ทรงใช้คำว่า "บรรทุก" ทรงโปรดกีฬาจนเป็นพระนิสัย และทรงเล่นกีฬาอย่างเต็มที่ทำให้พระองค์ทรงกว้างขวางในสังคม
มหาวิทยาลัยแต่ทรงศึกษาได้เพียง 3 เทอม ก็ถูกเรียกตัวกลับประเทศ

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2442 เสด็จเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยกรมตรวจและกรมสารบัญชี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2444 ได้ทรงย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดกรมธนบัตร ซึ่งเป็นเวลาที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
เริ่มที่จะจัดพิมพ์ธนบัตรออกใช้แทนเหรียญตรากระษาใณ์เป็นครั้งแรก พระองค์เจ้ารัชนีจึงได้รับมอบหมายให้จัดตั้งระเบียบ
ราชการกรมใหม่นั้น ได้ทรงเป็นแม่กองปรึกษาในการคิดแบบลวดลายและสีของธนบัตรแต่ละชนิด ทรงมีส่วนในการตรา
พระราชบัญญัติเงินตรา วางกฎเสนาบดีในการควบคุมธนบัตร และทรงวางหลักการบัญชีด้วย ธนบัตรที่จัดทำขึ้นครั้งนั้น
มีอัตราใบละ 1,000 บาท 100 บาท 20 บาท 5 บาท ส่วนอัตรา 1 บาทยังคงใช้เหรียญกษาปอย่างเดิมและได้นำธนบัตร
ออกจำหน่ายเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันเปิดกรมธนบัตรหลังจากนั้นได้ทรงเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้แทนเจ้ากรมธนบัตรเมื่อวันที่
1 เมษายน พ.ศ. 2446 และทรงย้ายไปเป็นเจ้ากรมกองที่ปรึกษาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2446
เสด็จอยู่ในตำแหน่งได้ 14 เดือน ก็ต้องทรงย้ายไปรับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมกระษาปณ์สิทธิการ

จนกระทั่ง1 เมษายน พ.ศ. 2451 ได้ทรงเลื่อนขั้นเป็นอธิบดีกรมตรวจแลกรมสารบัญชี ซึ่งเป็นกรมใหญ่และสำคัญกรมหนึ่ง
ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (ภายหลังกรมตรวจแลกรมสารบัญชีเปลี่ยนชื่อเป็นกรมบัญชีกลาง) ทรงดำรงตำแหน่ง
จนสิ้นรัชกาลที่ 5 รวมเวลาที่พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงรับราชการในรัชกาลที่ 5 เป็นเวลา 17 ปี จนมีพระชันษาได้ 33 ปี

พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นองคมนตรี ได้ทรงรับพระราชทาน
สัญญาบัติองคมนตรีเป็นลำดับที่ 19 ในองคมนตรีทั้งสิ้นรวม 233 ท่าน

พ.ศ. 2456 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามจาฤกในพระสุพรรณบัฎว่า
พระราชวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงศักดินา 11,000 ไร่ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรม
ในพระราชวังบวร

ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2458 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็นกรมบัญชาการชั้นมีอธิบดี
เป็นหัวหน้า อยู่ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีชื่อว่า "กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์" จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นอธิบดี พระองค์ได้ทรงริเริ่มจัดงานสำคัญขึ้นแผนกหนึ่ง ด้วยทรงคำนึงว่า
ชาวนาเป็นส่วนหนึ่งของการพาณิชย์ เพราะข้าวเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ แต่ขณะเดียวกันชาวนากลังมีหนี้สินมากทำนา
ได้ข้าวเท่าใดก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด แต่หนี้สินก็ยิ่งพอกพูน จากการหาแนวทางต่างๆ เพื่อทำการช่วยเหลือผลโดยสรุปเห็นว่า
วิธีการที่จะช่วยเหลือชาวนาให้พ้นจากอุปสรรคดังกล่าวได้ ต้องดำเนินการโดยใช้วิธีจัดตั้งสหกรณ์

กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ได้ขยายงานกว้างขวางไปหลายแผนกและมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ประกาศแต่งตั้ง
กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็นกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ให้อยู่ในความคบคุมของสภา
เผยแพร่พาณิชย์ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นอุปนายก
แห่งสภานั้น จนกระทั้ง พ.ศ. 2464 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ
เป็นรองเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ (ทรงมีตำแหน่งในที่ประชุมเสนาบดีสภาตั้งแต่ พ.ศ. 2463 จนถึงเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ. 2468 อันเป็นการประชุมเสนาบดีครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ 6)

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกแห่ง
ราชบัณฑิตสภาเสด็จแปรพระสถานจากกรุงเทฯ ไปประทับแรมเป็นประจำอยู่ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ผู้แทนเป็นอุปนายกแผนกวรรณคดีแห่งราชบัณฑิตยสภา จึงทรงเป็นสภานายกแทน ได้ทรงปฏิบัติราชการ
ทุกแผนกในราชบัณฑิต ดำเนินรายตามระเบียบเดิม ซึ่งสภานายกพระองค์ก่อนทรงจัดไว้โดยตลอด

จนกระทั่ง พ.ศ. 2476 เมื่อคราวที่จัดระเบียบงานขึ้นใหม่ ได้เปลี่ยนนามราชบัณฑิตสภาเป็น "ราชบัณฑิตยสถาน"
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ จึงได้กราบถวายบังคมลาออกทรงรับพระราชทานบำนาญ

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงนิพนธ์งานเขียนไว้มากมายทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงใช้นามปากกาว่า
"น.ม.ส." ซึ่งมาจากพระนามเดิมของพระองค์นั่นเอง โดยทรงหยิบเอาอักษรตัวท้ายของพระนามแต่ละคำที่ผสมกันอยู่ออกมา
เป็นคำย่อ (รัชนีแจ่มจรัส) ผงงานนิพนธ์ของพระองค์ท่าน เช่น เรื่องของนักเรียนเมืองอังกฤษ สงครามรัสเซียกับญี่ปุ่น
สืบราชสมบัติ พระนลคำฉันท์ ตลาดเงินตรา นิทานเวตาล กนกนคร กาพย์ เห่เรือ ฉันท์สดุดีสังเวยสมโภชพระมหาเศวตฉัตร
ความนึกในฤดูหนาว และสามกรุง ฯลฯ

ทรงออกหนังสือรายสัปดาห์ "ประมวญมารค" และทรงตั้งโรงพิมพ์ประมวญมารคขึ้นที่วัง ถนนประมวญ ต่อมาโรงพิมพ์ถึงการ
อวสานด้วยภัยสงครามถูกทิ้งระเบิด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2486

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงกระทำพิธีอาวาหะกับคุณพัฒน์ (บุนนาค) บุตรีเจ้าพระยาภาศกรวงศ์
และท่านผู้หญิงเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. 2444 ทรงมีพระโอรสธิดา คือ
1. หม่อมเจ้า (ชาย) จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี
2. หม่อมเจ้า (ชาย) รัชนีพัฒน์ รัชนี
3. นางศะศิธร บุนนาค
4. หม่อมเจ้า (ชาย) จันทร์พัฒน์ รัชนี

พ.ศ. 2462 ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ (วรวรรณ) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ทรงมีพระธิดา และโอรส คือ
1. หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิต
2. หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงสิ้นพระชนฆ์ ด้วยความสงบ ประดุจบรรทมหลับ ด้วยพระโรคหลอดโลหิต
ในสมองตัน เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 เวลา 15.30 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 68 ปี 6 เดือน 13 วัน
  

                      สีชมพู 26สีชมพู 26สีชมพู 26สีชมพู 26สีชมพู 26สีชมพู 26
              

  • ฮิต: 701

สงวนลิขสิทธิ์  พ.ศ. 2565 copyright @2022 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตรัง
ภาพประกอบจากเว้ปไซค์ Freeplk.com  flaticon.com


BACK TO TOP